กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์


การลดความเสี่ยงและความสูญเสียจากสาธารณภัย
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย มีประสิทธิภาพมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
การช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัย ฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบสาธารณภัย ด้วยความรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม
ทรัพยากรในการจัดการสาธารณภัย มีเพียงพอและมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงาน

พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ กลไกการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัย ฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบสาธารณภัย ด้วยความรวดเร็วทั่วถึง และเป็นธรรม
พัฒนาการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานตามหลักสากล และพัฒนามาตรฐานให้เทียบเท่าในระดับสากล
ศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
พัฒนาและลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรม และทรัพยากร ในระบบเตือนภัย ระบบสื่อสาร และจัดการสาธารณภัย ให้เพียงพอและมีความพร้อมต่อการปฏิบัติ
พัฒนาระบบในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ


การบูรณาการความร่วมมือเครือข่ายให้เป็นเอกภาพและมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน
เครือข่ายระหว่างประเทศมีความร่วมมือในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
คลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติได้รับการบูรณาการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บูรณาการเครือข่าย สร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนผลักดันการดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และแผนการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
เสริมสร้างความร่วมมือเครือข่ายระหว่างประเทศและสร้างบทบาทนำ ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยในเวทีระหว่างประเทศ
พัฒนาเชื่อมโยงคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ ให้มีความเป็นเอกภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรับปรุงแก้ไขกฏระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
พัฒนาระบบการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานเครือข่าย


ประชาชน เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น อาสาสมัครและเครือข่าย มีความรู้ ตระหนัก มีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ประชาชน เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น อาสาสมัครและเครือข่าย มีภูมิคุ้มกันและมีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

เสริมสร้างศักยภาพ ความเข้มแข็งของชุมชน ท้องถิ่น อาสาสมัครและเครือข่ายให้มีภูมิคุ้มกัน และความพร้อมในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
เผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สร้างการเรียนรู้ ตระหนัก จิตสำนึกมีส่วนร่วมและเตรียมรับมือกับสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้น
จัดตั้งสถาบันป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับประเทศและจัดให้มีการฝึกอบรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ และให้มีการจัดการฝึกอบรมร่วมกับต่างประเทศ


บุคลากรมีความเชี่ยวชาญและมีคุณภาพ
ขีดความสามารถขององค์กรเพิ่มขึ้น

การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล(HRD,HRM)
เสริมสร้างศักยภาพองค์กรในการดำเนินงาน

 
 

 


จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 791 ครั้ง